ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖๖ หมู่ที่ ๖ ตำบล มะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นวัดมหานิกาย
ประวัติวัดบ้านสวน
วัดบ้านสวนถือเป็นวัดสาขาหนึ่งของวัดเขาอ้อ เนื่องเพราะอดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านสวนต่างล้วนเป็นศิษย์สำนักวัดเขาอ้อทั้งสิ้น
"วัดบ้านสวน" ได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๐๗๐ ตรงกับสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา
ประวัติการให้บริการแพทย์แผนไทยในวัดบ้านสวน
อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านสวน "ศิษย์" สายสำนักวัดเขาอ้อ คือ พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต ) หรือหลวงพ่อคง เป็นผู้ใฝ่
ศึกษาและมีศรัทธาตั้งมั่น เมื่อได้มาอยู่วัดบ้านสวนด้วยความสำนึกว่าเป็นศิษย์สายเขาอ้อ และเคยมีชื่อเสียงในไสยเวทและการ
รักษาโรค ท่านก็เลยสืบทอดเจตนาของบูรพาจารย์ โดยศึกษาการแพทย์แผนโบราณตามตำราของวัดเขาอ้อ แล้วนำวิชาความรู้
สงเคราะห์คนเจ็บไข้ได้ป่วย ท่านทำหน้าที่นั้นจนกระทั่งมรณภาพ แต่ก็ได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ไว้ให้กับศิษย์เอกคือ พระมหาพรหม
หรือ พระครูขันตยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดบ้านสวนในปัจจุบัน
พระครูขันตยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดบ้านสวนในปัจจุบัน ท่านยังคงยึดมั่นและสืบทอดวิชาการดูแลชุมชนและชาวบ้านที่เจ็บป่วย
ด้วยโรคต่างๆด้วยสมุนไพร ทั้งต่อกระดูก กระดูกหัก อัมพฤก อัมพาต กระดูกทับเส้นฯลฯ เป็นที่พึ่งยามเจ็บป่วยของคนในชุมชน
บ้านสวนและพื้นที่ใกล้เคียง เมื่อมีคนเจ็บป่วยจะมาในวัดเพื่อขอให้ท่านรักษา ส่วนใหญ่รักษาพวก เอ็นและการต่อกระดูกเป็น
ส่วนใหญ่ คนที่เจ็บป่วยพวก เอ็น ปวดเมื่อย กระดูก แขน ขาหัก มีการใช้น้ำมันมะพร้าวใหม่ที่หุงกับสมุนไพรหลากหลายชนิด
ชโลมทา และบีบนวดจนหาย เมื่อหายแล้วก็ให้ผู้ป่วยเอาข้าวเอาปลามาทำบุญ
วัดบ้านสวนเป็นผลผลิตจากวัดเขาอ้อ ตำราสมุนไพรและการรักษาโรคต่างๆจึงได้รับการสืบทอดมาจากวัดเขาอ้อ พระครูขันตยาภรณ์ท่านเล็งเห็นถึงความสำคัญเรื่องสมุนไพรจะสูญหายจึงได้ ทำหอสมุดสมุนไพรขึ้นและได้บันทึกตำรายาไว้ใน
ใบลานและเสาโบสถ์ทุกเสา เช่น สูตรยาแก้พิษงูกัด ยาแก้ชัก ยาคุมกำเนิดลูกห่าง ยาดับร้อน ยาแก้ปวดฟันเหงือกอักเสบ ฯลฯ ทำให้ตำราสมุนไพรรักษาโรคต่างๆไม่สูญหาย ผู้ที่สนใจสามารถมาศึกษาและนำตัวยาไปรักษาโรคตามอาการได้ เป็นการรักษา ตำรายาแต่โบราณไม่ให้สูญหายและเป็นมรดกให้คนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์และสืบต่อ
การใช้หลักพุทธศาสนาในการดำเนินงานแพทย์แผนไทย
ในการดำเนินงานการแพทย์แผนไทย ใช้แนวคิดหลักศาสนาพุทธพรหมวิหาร ๔ ( เมตตา กรุณา/ มุทิตา/อุเบกขา ) เมื่อคนเจ็บป่วยเข้ามารักษาเขาย่อมมีความทุกข์กายและทุกข์ใจ เมื่อมาถึงวัดเขาต้องการให้หาย (เมตตา ) วัดจึงกลายเป็นที่พึ่ง
สำหรับคนที่เจ็บป่วย และ พระอาจารย์ก็ปรารถนาที่จะรักษาให้เขาหายจากการเจ็บป่วย( กรุณา) โดยมิได้หวังในค่าตอบแทนเป็น
ตัวเงิน ( มุทิตา ) หรือการรักษาไม่เลือกปฏิบัติว่า คนที่มารักษานั้นจะจนหรือรวย (อุเบกขา ) เมื่อมารักษาหน้าที่ของพระอาจารย์
คือรักษาตามลำดับและอาการตามความรู้ ประสบการณ์ ปัญญาที่มีและสะสม ด้วยหลักปฏิบัติเช่นนี้ วัดบ้านสวนจึงได้รับการยกย่อง และเลื่อมใสศรัทธาจากญาติโยมทั้งใกล้และไกล เข้ามารักษา เมื่อหายแล้วจึงเข้ามาทำนุบำรุงศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง เป็นความดี
ที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น