สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สมพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : ftmat2560@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

     พุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย
ตอนที่ 22 การแพทย์ดั้งเดิมของไทย ในยุคกรุงศรีอยุธยา (ตอน 5)

















      

                                                                                                                     โดย สันติสุข โสภณสิริ




สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑)


          ดังได้กล่าวไว้ว่า ตำราพระโอสถพระนารายณ์ มีตำราเหล่านี้ยังตกทอดมาถึงทุกวันนี้ ตำราพระโอสถพระนารายณ์นี้ ค้นพบ
ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีตำราพระโอสถหลายขนานที่ปรากฏชื่อ หมอหลวงและวันคืนที่ตั้งพระโอสถนั้นจดไว้ช้ดเจนว่าอยู่ระหว่าง
พ.ศ.๒๒๐๒-๒๒๐๔ ซึ่งตรงกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
          แพทย์ปรุงยาที่มีชื่อปรากฏในตำราพระโอสถพระนารายณ์มีทั้งหมด ๙ คนที่ เป็นผู้ประกอบยาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราช แพทย์ผู้ประกอบยาทั้ง ๙ คนดังกล่าว เป็นหมอหลวง ๗ คน และหมอเชลยศักดิ์ ๒ คน หมอหลวงเป็น
หมอไทย ๔ คน คือออกพระแพทยพงษา ออกพระสิทธิสาร ออกขุนประสิทธิโอสถ ออกขุนทิพจักร เป็นหมอจีน ๑ คนคือ
ขุนประสิทธิโอสถจีน เป็นหมอแขก ๑ คนคือ ออกพระสิทธิสารพราหมณ์เทศ และเป็นหมอฝรั่ง ๑ คนคือพระแพทยโอสถฝรั่ง
          ส่วนหมอเชลยศักดิ์ไทยชื่อนายเพ็ชรปัญญา และหมอเชลยศักดิ์ฝรั่งชื่อนายเมสี
          ข้อสังเกตคือ แพทย์ที่ได้บรรดาศักดิ์ เป็นหมอหลวงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไม่ได้มีเฉพาะหมอไทยแต่มีหมอ
ทางเลือกต่างชาติที่เป็นหมอจีน และหมอฝรั่งด้วย          ในตำรับยาของหมอจีนนั้นมีการใช้ยาจีนคือ ยิงสม (หรือในภาษาอังกฤษ
คือ Ginseng) ซึ่งก็คือโสมในตำรับยาชูพระกำลังเป็นครั้งแรก และในตำรับยาของหมอหลวง ฝรั่ง ก็มีการใช้ดินประสิวหรือเกลือ
โพแทสเซียมไนเตรต (Potassium Nitrate) ซึ่งฝรั่งรู้จักใช้เป็นยาขับปัสสาวะมาแต่โบราณ ปรากฏว่ามีสรรพคุณดีเป็นที่โปรดปราน
ถึงกับได้รับ พระราชทานเงินถึง ๑ ชั่งบรรพบุรุษหมอไทยเห็นว่า ดินประสิวเป็นธาตุวัตถุที่มีฤทธิ์ขับ ปัสสาวะดีจึงได้นำมาประกอบ
ยาไทยใช้อยู่จนปัจจุบันนี้
          ส่วนตำรับยาขี้ผึ้งรักษาบาดแผลของหมอเชลยศักดิ์ฝรั่งชื่อเมสีนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ได้ทรงตั้งข้อสังเกตไว้ว่า "....ประหลาดที่มีตำรา หมอฝรั่งนี้พวกกุฎีจีนยังใช้รักษากันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้..." ในตำรับยาขนานนี้
ใช้เครื่องยาเทศอย่างหนึ่ง ชื่อว่า "มาตะกี่" ซึ่งเป็นเครื่องยาที่ไม่เคยปรากฏในตำรับยาไทย อื่นๆ เลย มาตะกี่ (mastagi) หรือมาสติก
(mastic) เป็นยางไม้ประเภทชันน้ำมันที่ได้จาก พืชที่มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Pistacia lentiscus L. ซึ่งขึ้นในบริเวณรอบทะเลเมดิเตอร์
เรเนียน ประโยชน์ของมาตะกี่ในทางทันตกรรมใช้ในการอุดฟันชั่วคราว ใช้ทำหมากฝรั่ง  ทำปลาสเตอร์ ใช้เคลือบเม็ดยาให้แตกตัว
ในลำไส้ เป็นต้น




(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )

(ต่อตอนที่ 23 การแพทย์ดั้งเดิมของไทยในยุคกรุงศรีอยุธยา (ตอน 6)
         


   
  







ขอบคุณภาพ www.wikipedia.org