ตำรับยาไทย
สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สมพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : aorchaweewan26@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

    อาการกินผิดเป็นโรคที่พบบ่อยในภาคอีสาน เนื่องจากวิถีชีวิตเปลี่ยนไปมากจากอดีต เคยอยู่อย่างเรียบง่าย กินอยู่ด้วยความสมดุลกับฤดูกาลและธรรมชาติ กลายเป็นชีวิตที่รีบเร่ง ซื้ออาหารกินตามมีตามเกิด กินอาหารไม่มีคุณภาพจนทำให้ร่างกายผิดปกติ โดยเฉพาะผู้หญิงช่วงหลังคลอด ใช้ชีวิตตามสบาย ไม่ได้อยู่ไฟหลังคลอด และขาดความระมัดระวังในการบริโภคสิ่งต่าง ๆ ทำให้เกิดอาการกินผิดได้ง่าย

ลักษณะอาการของโรค

กินผิด คือโรคชนิดหนึ่งของชาวอีสาน มีอาการคล้ายกับ “ผิดสำแดง” ในภาคกลาง
กินผิด มีความหมายตรงกับชื่อ คือการกินสิ่งที่ไม่เหมาะกับร่างกาย ทำให้มีอาการผิดปกติ
กินผิด เกิดได้กับคนทั่วไปทุกเพศทุกวัย แต่ที่ส่งผลต่อสุขภาพอย่างมากในกลุ่มของแม่ลูกอ่อน ซึ่งมีภาวะฮอร์โมนเพศยังไม่ปกติ
          หรือยังไม่สมดุล

อาการกินผิด คือ ปวดหัว วิงเวียน อาเจียน หายใจไม่สะดวก หน้ามืด บางครั้งอาจมีไข้สูงร่วมด้วย

    การรักษาโดยส่วนใหญ่ให้หมอพื้นบ้านที่มีความรู้และชำนาญรักษา เนื่องจากเป็นตำรับ”ยาฝน” ซึ่งต้องอาศัยหมอยาที่มีความเชี่ยวชาญในการฝนยา แต่วิธีการเหล่านี้สามารถฝึกอบรมให้แก่ผู้สนใจนำไปดูแลตนเองในครัวเรือนได้ ส่วนตัวตำรับยาสมุนไพรที่ใช้นั้น  
    มีตัวอย่างตำรับซึ่งได้มาจากการประชุมสัมมนาของหมอยาในภาคอีสาน โดยคัดเลือกเฉพาะตำรับยาที่ใช้พืชสมุนไพรหาง่าย
มีความปลอดภัย และนำมาใช้ได้ด้วยตนเอง นำมาเสนอเป็นตัวอย่างซัก 2 ตำรับดังนี้

ตำรับที่ 1
     1.สาวฟ้า (ส่องฟ้า โปร่งฟ้า) 
     2.สาวสวรรค์ (สะมัดน้อย)   
     3.แสนน้ำนม (พงพี , พนมสวรรค์)


      วิธีทำ  ฝนใส่น้ำอย่างละ 9 ครั้ง


ตำรับที่ 2
       ย่านางแดง เอา 3 ชิ้น หรือ 7 ชิ้น(ยาวชิ้นละ 1คืบ) ต้มให้สีออก(ยาออก) กินครึ่งเดียว







                                                                  










  
ตำรับยาแก้อาการกินผิด








                                                                  










  
สาวฟ้า
สาวสวรรค์
แสนน้ำนม
ย่านางแดง
2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

   ดูทั้งหมด