ตำรับยาไทย
สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สมพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : aorchaweewan26@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

     พุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย
   ดูทั้งหมด
พัฒนาการการแพทย์แผนไทยในแต่ละกาลสมัย แหล่งกำเนิดและความเป็นมาของทฤษฎีการแพทย์แผนไทย
                              

                                                                                                                     โดย สันติสุข โสภณสิริ
ตอนที่ 2

         การแพทย์แผนไทยเป็นระบบการแพทย์แผนโบราณหรือการแพทย์แบบดั้งเดิมที่มีแนวคิดและทฤษฎีชัดเจน  ตำรับตำราที่ใช้
อ้างอิงและมีแบบแผนการปฏิบัติที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาช้านาน เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการในระดับราชสำนักหรือใน ระดับราชการ
จนกล่าวได้ว่า เป็นการแพทย์ของหลวง
          ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า การแพทย์แผนไทยมีต้นกำเนิดจากอารยธรรมอินเดียโบราณในสายของพระพุทธศาสนา แต่เดิมมี
ความเข้าใจกันว่า การแพทย์แผนไทย มีราก กำเนิดจากการแพทย์อายุรเวทอันเป็นศาสตร์การแพทย์ของฮินดู ซึ่งดำรงอยู่ก่อนพุทธ
กาลอย่างไรก็ดีจากการศึกษาของ เค็นเนธ จี. ซิสค์ (Kenneth G.Zysk) พบว่าการแพทย์ อายุรเวทของฮินดูในยุคแรกนั้น เป็นเรื่อง
ของจารีตการบำบัดรักษาแบบไสยศาสตร์ - ศาสนา (Magico-Religious Healing Tradition) ที่มาจากคัมภีร์พระเวท (Veda) ซึ่งประ
กอบด้วยข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับการรักษาโรคเป็นจำนวนมาก ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดคือ คัมภีร์ฤคเวท (Rgveda) ประมาณ 300 ปีก่อนพุทธ
กาล และต่อมาไม่นานจึงปรากฏ คัมภีร์อาถรรพเวท (Atharvaveda) ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่ของทั้ง 2 คัมภีร์จะกล่าวถึงโรคภัยไข้เจ็บที่
เกิดจากอำนาจของภูตผีปีศาจ และมีบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าที่ช่วยในการเยียวยาปัดเป่าโรค
         ดังนั้นการแพทย์แบบพระเวทยุคตัน จึงเป็นระบบการบำบัดรักษาที่มีรากฐานมาจากไสยศาสตร์ โดยมีความเชื่อว่า โรคเกิดจาก
พลังของภูตผีปีศาจ หรือพลังความชั่วร้าย จู่โจมเข้าไปในร่างกายของเหยื่อจนทำให้เกิดความเจ็บป่วยทางร่างกาย บางครั้งการถูกกระ
ทำให้เจ็บป่วยหรือบาดเจ็บพิการ ถูกอธิบายว่าเกิดจากการฝ่าฝืนข้อห้ามหรือเกิดจากการสาปแช่งจากพระเจ้าหรือถูกพ่อมดหมอผีกระ
ทำ         
         การแพทย์อายุรเวทของฮินดูที่เป็นการแพทย์แบบพระเวท หรือการแพทย์แบบ ไสยศาสตร์-ศาสนา ได้เปลี่ยนผ่านมาสู่กระ
บวนทัศน์ทางการแพทย์แบบประจักษ์นิยม และเหตุผล (Empirico-Rational Healing Tradition) ซึ่งพัฒนาขึ้นมาจากระบบการแพทย์
ในพุทธอาราม (Medicine in Buddhist Monastery) หรืออีกนัยหนึ่งคือ ระบบการแพทย์ที่พัฒนามาจากปรัชญาคำสอนของพุทธ
ศาสนานั้นเอง
         ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า แม้การแพทย์แผนไทยจะได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมการแพทย์ของอินเดีย แต่ก็เป็นการแพทย์อินเดีย
ที่ถ่ายทอดมาในสายของพระพุทธศาสนาเป็นหลัก
         กล่าวได้ว่าพุทธศาสนาเป็นแกนกลางของการแพทย์แผนไทยด้วยมีหลักพุทธธรรม และพระสูตรหลายพระสูตรที่กลายเป็นที่มา
แห่งคัมภีร์การแพทย์แผนไทย ยกตัวอย่าง เช่น


ว่าด้วยกำเนิดและความเป็นมาของมนุษย์
         มหาตัณหาสังขยสูตร กล่าวถึงเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดการตั้งครรภ์ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความประชุมพร้อมแห่งแห่งปัจจัย
3 ประการ ความเกิด แห่งทารกก็มีในสัตว์โลกแห่งนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน แต่มารดายังไม่มีระดู และทารกที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารกก็ยังไม่มีก่อนในสัตว์โลกนี้มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน มารดามีระดู แต่ทารกที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารก
ก็ยังไม่มีก่อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดมารดาบิดาอยู่ร่วมกันด้วย มารดามีระดูด้วย ทารกที่จะมาเกิด ก็ปรากฏด้วย เพราะความประชุม
พร้อมแห่งปัจจัย 3 ประการอย่างนี้ ความเกิดแห่ง ทารกจึงมี
         ดูกรภิกษุทั้งหลาย มารดาย่อมรักษาทารกนั้นด้วยท้องเก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง เมื่อล่วงไปเก้าเดือนหรือสิบเดือน มารดาก็
คลอดทารกผู้เป็นภาระหนักนั้น ด้วยความเสี่ยง ชีวิตมาก และเลี้ยงทารกผู้เป็นภาระหนักนั้นซึ่งเกิดแล้ว ด้วยโลหิตของตน ด้วยความเสี่ยง
ชีวิตมาก" (มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก)
         ยักขสังยุตอินทก สูตรที่ ๑ กล่าวถึงอินทรยักษ์ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูล ถามว่า รูปร่างกายของมนุษย์ ก่อตัวขึ้นมาได้
อย่างไร"ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่า รูปหาใช่ชีพไม่สัตว์นี้จะประสบร่างกายนี้ได้อย่างไร หนอ กระดูกและก้อนเนื้อจะมาแต่ไหน สัตว์นี้จะ
ติดอยู่ในครรภ์ได้อย่างไร" พระพุทธองค์ทรงวิสัชนาต่อปุจฉาข้อนี้ว่า
        "รูปนี้เป็นกลละก่อน จากกลละเป็น อัพพุทะ จากอัพพุทะเกิดเป็น เปสิ จาก เปสิเกิดเป็นฆนะ จากฆนะเกิดเป็น ๕ ปุุ่ม(ปัญจสาขา)
ต่อจากนั้น มีผม ขน และ เล็บ เป็นต้น เกิดขึ้น มารดาของสัตว์ในครรภ์บริโภค ข้าว น้ำ โภชนาการอย่างใด สัตว์อยู่ในครรภ์มารดา ก็ยัง
อัตภาพให้เป็นด้วยอาหารอย่างนั้น ในครรภ์นั้น" (สังยุตตนิกาย สคาถวัคค์)
         พัฒนาของทารกในครรภ์สัปดาห์แรกเป็นกลละ หมายถึง หยาดน้ำใสที่เล็กมาก อุปมาเท่ากับน้ำมันที่เหลือติดอยู่ที่ขนจามรีเส้น
หนึ่ง หลังจากที่นำขนนี้ไปจุ่มน้ำมันงาแล้ว สลัดเจ็ดครั้ง สัปดาห์ที่สองเป็น อัพพุทะ คือ เป็นน้ำข้น สัปดาห์ที่สามเป็นเปสิ คือ เป็นชิ้นเนื้อ
สัปดาห์ที่สี่พัฒนา เป็นฆนะ คือ ก้อนเนื้อ สัปดาห์ที่ห้า จะมีส่วนที่งอกออก มาเป็นปุ่ม ห้าปุม หรือ ปัญจสาขา คือ ศีรษะ ๑ แขน ๒ ขา ๒
ต่อจากนั้นจึงมีผม ขน เล็บ ฯลฯ ซึ่งค่อยๆ พัฒนามาเป็น องคาพยพที่สมบูรณ์ จนครบกำหนดคลอด
         อัคคัญสูตร พระสูตรดังกล่าวเป็นต้นกำเนิดของ พระคัมภีร์ปฐมจินดา ซึ่งถือว่าเป็น พระคัมภีร์สำคัญ ของวิชาแพทย์แผนไทยว่า
ด้วย ครรภ์กำเนิด การดูแลหญิงมีครรภ์และ ทารกก่อนคลอด และหลังคลอด


(ต่อตอนที่ 3 ว่าด้วยองค์ประกอบของชีวิต)

(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย
การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )

ขอบคุณภาพประกอบ  http://pantip.com/topic/30123568


                                                                  










  
2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.