สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย (สมพท.)
403 ซอย 7 ถ.เทศบาลนิมิตใต้ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900.
tel. 0-2589-4243  Fax. 0-2591-8092 E-mail : aorchaweewan26@gmail.com

แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

     พุทธศาสนากับการแพทย์แผนไทย
การพัฒนาการแพทย์แผนไทยตั้งแต่สมัยโบราณ
                              

                                                                                                                     โดย สันติสุข โสภณสิริ
ตอนที่ 5

     การแพทย์แผนไทยได้มีการพัฒนามาตามลำดับ ดังนี้ ความเป็นมาของการแพทย์แผนไทยในยุคอินเดียโบราณ
     ในสมัยพุทธกาล กำเนิดการแพทย์แผนไทยเริ่มจากบทบาทของพระภิกษุในฐานะผู้เยียวยา ในระยะแรกจะจำกัดอยู่ในขอบ
เขตของการดูแลพระภิกษุด้วยกัน เรื่องราวตอนหนึ่งในคัมภีร์มหาวรรค เชื่อมโยงให้เห็นว่าบทบาทหน้าที่ดังกล่าวได้กลายมาเป็น
โรงพยาบาลของสงฆ์ กล่าวคือ ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธด้วยอาการไม่สบายในท้อง นอนจมกองมูตรกองคูถ ความี่ท่านไม่เป็นประโยชน์
แก่สงฆ์ ในสภาพเช่นนี้จึงไม่มีผู้ใดคอยอุปฏฐากทาน เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบจึงเสด็จมาดูแลภิกษุที่อาพาธ และในภายหลังได้
ทรงกำหนดวินัยว่า ด้วยการพยาบาลภิกษุผู้อาพาธ โดยมีพุทธดำรัสที่มีความสำคัญต่อจริยธรรมการแพทย์แผนไทย ดังนี้
    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีมารดาหรือบิดาคอยพยาบาล ภิกษุทั้งหลาย หากพวกเธอไม่พยาบาลซึ่งกันและกัน ผู้ใดเล่า
จักพยาบาลเธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดจัก พยาบาลเรา ผู้นั้นพึงพยาบาลภิกษุผู้อาพาธเถิด"
     การพยาบาลภิกษุผู้อาพาธจึงถือว่าเป็นการอุปการะที่ยิ่งใหญ่ สถาบันของ หมอพระ ซึ่งใช้หลักการแพทย์ที่ได้รับการจัดระบบ
ภายใต้พระวินัยของพุทธอาราม จึงวิวัฒนาการไปพร้อมกับระบบการแพทย์เพื่อจุดมุ่งหมายในการให้การดูแลทางการแพทย์ แก่ผู้
ที่เจ็บป่วยในหมู่สงฆ์ ในคัมภีร์มหาวรรคของวินัยปิฎก ยังได้กล่าวถึงคุณสมบัติของ ภิกษุผู้มีความสามารถในการรักษาพยาบาล
หรือ คิลานุปัฏฐาก ว่า
     "เป็นผู้ที่มีความสามารถประกอบยา รู้จักสิ่งที่มีประโยชน์และสิ่งไม่มีประโยชน์ จัดหาสิ่งที่มีประโยชน์ให้และไม่นำของที่ไม่เป็น
ประโยชน์ไปให้ พยาบาลภิกษุอาพาธด้วยจิตเมตตา ไม่เห็นแก่อามิส ไม่รังเกียจที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลาย หรือสิ่งที่อาเจียน
ออกไปทิ้ง และมีความสามารถทำให้ภิกษุที่อาพาธมีความยินดีเบิกบาน สดชื่น และปกติ อยู่เนืองๆ ด้วยธรรม"
     ในวินัยปิฎกมีการกล่าวถึง "ศาลาผู้ป่วย" (คิลานสาลา) ซึ่งตั้งอยู่ ณ ศาลาจั่วแหลม (กูฏาคารสาลา) ในป่ามหาวัน ใกล้เมือง
เวสาลี ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามีอาคารในวัดที่แยกออกมาต่างหาก เพื่อดูแลภิกษุและภิกษุณีที่อาพาธในสมัยพุทธกาล ดังภายหลังมี
      หลักฐานยืนยันจากจารึกนาคารชุนิโกณฑะ ซึ่งอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๘ บ่งชี้ว่า สุขศาลาสำหรับดูแลผู้ป่วยและผู้พักฟื้น
เป็นส่วนหนึ่งของพุทธอาราม ดังข้อความในจารึกนี้ ว่า "ในวิหารหลักของพระอารามอันวิจิตรงดงาม เป็นที่พำนักของผู้ทุเลาจากไข้"


       

(ต่อตอนที่ 6 ว่าด้วยแพทย์ตั้งแต่สมัยโบราณ )

(ปรับปรุงจากเอกสารที่ตีพิพม์ครั้งแรกใน "รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย
การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2552-2553 (สิงหาคม 2553)" )




                                                                  
2016-2017 Your Web Site Corporation. All rights reserved.

ขอบคุณภาพ http://www.bloggang.com